Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)


ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2170 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 537 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

กระดานถามตอบ


หัวข้อ (อ่าน/ตอบ)
โดย
วันที่
00004 : แนะแนวฟรี เทคนิคเรียนเก่งและสอบติวโควตา มข. (157/0)
BELL THEACT
1 ก.ย. 2558 : 00:18
00003 : จากผู้พัฒนาเว็บไซต์ รูปภาพ (241/0)
admin
23 ก.ค. 2558 : 16:11

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่07 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปยุโรป

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทวีปยุโรป

                                         ทวีปยุโรป

            ทวีปยุโรป เป็นทวีปที่อยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกับทวีปเอเชีย มีลักษณะคล้ายกับเป็นคาบสมุทรใหญ่ของทวีปเอเชีย 
            จึงมีผู้เรียกทวีปยุโรป และเอเชียรวมกันว่า “ยูเรเซีย” พรมแดนธรรมชาติที่ใช้เป็นแนวแบ่งทวีปยุโรปกับทวีเอเชียออกจากกัน คือ แนว เทือกเขาอูราลและแม่น้ำอูราล

ที่ตั้ง

            ทวีปยุโรปตั้งอยู่ระหว่างละติจูดประมาณ 36 องศาเหนือ ถึง 71 องศาเหนือ และลองจิจูดประมาณ 9 องศาตะวันตก ถึง ลองจิจูดประมาณ 66 องศาตะวันออก กล่าวคือ ทวีปยุโรป มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่เหนือเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ (ละติจูดที่ 23 ½ องศาเหนือ) ซึ่งอยู่ในเขตอากาศอบอุ่นเหนือเกือบทั้งหมดยกเว้นตอนเหนือสุดของทวีปเท่านั้นที่อยู่ในเขตอากาศหนาวเหนือ

ขนาด

            ทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 10 ล้านตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 6 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอนตาร์กติกา แต่ใหญ่กว่าออสเตรเลีย

อาณาเขตติดต่อ มีดังนี้

            ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก และมีทะลต่าง ๆ ได้แก่ ทะเลขาว ทะเลแบเรนต์ส น่านน้ำเหล่านี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจน้อย มาก เพราะในฤดูหนาวจะปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง ใช้เดินเรือไม่ได้ คาบสมุทรสำคัญด้านนี้ ได้แก่ คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย คาบสมุทรจัตแลนด์

            ทิศตะวันออก ติดต่อเป็นผืนแผ่นดนเดียวกันกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขาอูราล แม่น้ำอูราล และทะเลสาบแคสเปียนเป็นแนวพรมแดน 

            ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีทะเลต่าง ๆ ได้แก่ ทะเลนอร์วิเจียน ทะเลเหนือ ทะเลไอริช และทะเลบอลติก เกาะ สำคัญทางด้านนี้ ได้แก่ เกาะบริเตนใหญ่ เกาะไอร์แลนด์ และเกาะไอซ์แลนด์

            ทวีปยุโรปเป็นทวีปที่มีชายฝั่งทะเลที่ยาวที่สุดในโลก ทั้งนี้เพราะความเว้าแหว่งของชายฝั่งทะเลมีมากนั่นเอง 
            และยังทำให้มีคาบสมุทรหลายแห่ง ได้แก่ 
  1. คาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศนอร์เวย์และสวีเดิน คาบสมุทรจัดแลนด์เป็นที่ตั้งของประเทศเดนมาร์ก 
  2. คาบสมุทรไอบีเรียเป็นที่ตั้งของประเทศสเปนและโปรตุเกส 
  3. คาบสมุทรอิตาลี เป็นที่ตั้งของประเทศอิตาลี 
  4. คาบสมุทรบอลข่าน เป็นที่ตั้งของประเทศอดีตยูโกสลาเวีย แอลเบเนีย โรมาเนีย บัลแกเรีย แอลกรีซ (สาธารณรัฐเฮเลนิก) 
  5. คาบสมุทรไครเมียในประเทศยูเครน

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของทวีปยุโรป

            ทวีปยุโรปเป็นดินแดนที่เคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งหนึ่ง ที่มีประวัติศาสตร์ความเจริญต่อเนื่องกันมาเป็นเวลากว่า 2000 ปี มาแล้ว
            มีหลักฐานปรากฎอย่างชัดเจนว่า ความเจริญของทวีปยุโรปทีราก ฐาน กำเนิดจากอารายธรรมไมโนน (Minoan Civilization) 
            ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่เกาะครีต(Crete)ตอนใต้ของคาบสมุทรบอลข่านในทะลเมดิเตอร์เรเนียน 
            อารยธรรมไมโนนเป็นอารยธรรม ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างอารยธรรมโบราณ 2 แห่ง คือ 
            อารยธรรมอียิปต์ (ลุ่มแม่น้ำไนล์) 
            อารยธรรมเมโสโปเตเมีย (ลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรติส) 
            จนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง และต่อมาได้แผ่ขยายไปยังดินแดนต่างๆ ในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน 
            โดยเฉพาะคาบสมุทรบอลข่านและคาบสมุทรอิตาลี จึงนับว่าชนชาติกรีกและชนชาติโรมัน มีส่วนสำคัญที่สุดในการวางรากฐานความเจริญในยุโรป
            ชนชาติกรีกเป็นพวกอินโดยูโรเปียนมีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบแม่น้ำดานูบ ในเขตประเทศออสเตรียในปัจจุบัน ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน เมื่อประมาณ 2000 ปี ก่อนคริสต์กาล 
            กรีกเป็นชนชาติแรกที่ได้รับถ่ายทอดความเจริญ ของอารยธรรมไมโนน ไปจากเกาะครีต 
            และหลังจากนั้นชนชาติโรมันซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณคาบสมุทรอิตาลี ก็ได้รับความเจริญไปจากชนชาติกรีกอีกทอดหนึ่ง 
            กรีกได้ทิ้งมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมอันมีค่าหลายประการไว้แก่โลกตะวันตก เพราะกรีกเป็นนักคิดและนักสร้างสรรค์ ที่สำคัญ
            ผลงานที่เด่นๆ ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ปรัชญา 
            และที่สำคัญที่สุด คือ การปกครองระบอบประชาธิบไตย ที่นับว่าเป็นการวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แก่ประเทศต่างๆ ในปัจจุบัน 
            ส่วน ชนชาติโรมัน นั้น แม้ว่าจะรับความเจริญต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรมมาจากกรีก แต่ก็รู้จักที่จะนำมาประยุกต์ดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ทางด้านการใช้สอยให้คุ้มค่า 
            โดยเฉพาะการวางผังเมืองการวางท่อลำเลียงน้ำ ที่อาบน้ำสาธารณะ ผลงานทางศิลปะต่าง ๆ ที่สำคัญที่สุดคือ กฎหมายโรมัน ซึ่งเป็นรากฐานของการร่างกฎหมายประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป 
            โรมันเป็นชนชาติที่มีความสามารถกล้าหาญ ได้ขยายอำนาจครอบครองดินแดนกรีก และดินแดนของชนชาติอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง 
            จนทำให้อาณาจักรโรมัน กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดมีอาณา เขต ครอบคลุมเกือบทั่วภาคพื้นทวีปยุโรป 
            โดยมีอาณาเขต ตั้งแต่ตะวันตกของทวีปยุโรป คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน ดินแดนชายฝั่งตะวันออก ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตลอดไปจนถึงบริเวณตอนเหนือของทวีปแอฟริกา 
            จักรวรรดิโรมัน เป็นศูนย์กลางความเจริญ ของทวีปยุโรปอยู่ประมาณ 300 ปี ภายหลังที่มีการแบ่งแยกจักรวรรดิออกเป็น
            จักรวรรดิโรมันตะวันตก โดยมีเมืองหลวงอยู่ทีกรุงโรม
            และจักรวรรดิโรมันตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 แล้ว 

            จักรวรรดิโรมันตะวันตกได้เริ่มเสื่อมลงตามลำดับ และในที่สุดได้ถูกพวกอนารยชนเยอรมัน เผ่าติวตันเข้ารุกรานและยึดครองใน ค.ศ.476 
            ซึ่งมีผลทำให้ความเจริญต่าง ๆ ทางศิลปวัฒนธรรมหยุดชะงักลง สภาพทางสังคมของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ภายหลังการุกรานของอนารยชน เต็มไปด้วยความวุ่นวาย สับสน 
            บ้านเมืองระส่ำระสายไปทั่ว มีศึกสงครามติดต่อกันเกือบตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้ ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยาการของกรีก-โรมัน ต้องหยุดชะงักลง 
            และทำให้ทวีปยุโรปตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า ยุคมืด Dark Ages ซึ่งอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5-10 
            ในระหว่างนั้นคริสต์ศาสนาได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชาวยุโรป 
            เพราะเป็นระยะเวลาที่ประชาชน กำลังแสวงหาที่พึ่งทางใจ วัดและสันตะปาปา คือศูนย์รวมแห่งจิตใจของประชาชน คริสต์ศาสนาจึงขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะนั้น
            อิทธิพลทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ชาวตะวันตกต่างพากันยอมรับ ในความยิ่งใหญ่ ่และอำนาจของพระเจ้า ในการดลบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดขึ้น 
            จนทำให้เกิดความกลัวที่จะคิดหรือกระทำการใดๆ ที่นอกเหนือไปจากกฎเกณฑ์ที่ทางศาสนาได้กำหนดไว้
            อย่างไรก็ตามในระยะคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคมของยุโรป ไปในทางที่ดี คือ การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หรือ เรอเนสซองส์ Renaissance 
            ซึ่งทำให้มีการฟื้นฟูศิลปวิทยาการกรีก-โรมัน ที่หยุดชะงักไปตั้งแต่ยุคมืดขึ้นมาใหม่ 
            และยังส่งผลต่อเนื่องไปสู่การริเริ่มแนวคิด เริ่มมองทุกอย่างในลักษณะของเหตุผล รู้จักใช้สติปัญญาตน พิจารณาแทนความเชื่องมงายอย่างไร้เหตุผล ดังที่เคยปฏิบัติมาในยุคมืด 
            เริ่มมีความคิดว่ามนุษย์สามารถที่จะพัฒนาตนเองได้ สามารถปรับปรุง ทุกอย่างให้ดีขึ้นได้ด้วยความสามารถตนเอง
            สมัยเรอเนสซองส์จึงเป็นสมัยที่ก้าวไปสู่ความเจริญอย่างไม่หยุดยั้งของโลกตะวันตกในระยะต่อมา 
            ซึ่งขณะนั้นศูนย์กลางความเจริญของทวีปยุโรป ได้ย้ายมาอยู่ ในบริเวณประเทศต่างๆ ที่ก่อตั้งขึ้นในบริเวณยุโรปตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี เป็นต้น 
            นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ทวีปยุโรปจึงก้าวเข้าสู่สภาพสังคมแบบสมัยใหม่ ที่สะท้อนให้เห็นการพัฒนา ในด้านความคิดริเริ่มสร้าง สรรค์ และความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ 
            อันนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวยุโรป เป็นอย่างมาก อาทิ การปฏิวัติศาสนาที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 
            โดยนักบวชชาวเยอรมนี มาร์ติน ลูเธอร์ Martin Luthur ค.ศ.1483-1546 ทำให้มีการก่อตั้งนิกายโปรเตสแตนท์ ซึ่งแสดงให้เห็นความกล้าหาญ ในการแสดงออก
            ซึ่งการต่อต้านคัดค้านนิกายดั้งเดิม คือ โรมันคาทอลิก ที่เคยมีอิทธิพลอย่างมากมาก่อน 
            นอกจากนี้ การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 มีผลทำให้มนุษย์เริ่มค้นคว้าหาความจริงจากธรรมชาติ 
            มีการพิสูจน์ว่าโลกกลม ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล ซึ่งมีผลต่อการริเริ่มสำรวจทางทะเล และการแสวงหาอาณานิคมกันอย่างกว้างขวางในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 
            และทำให้วัฒนธรรมตะวันตกได้แผ่ขยายไปยังดินแดนอาณานิคมต่างๆ ทั้งในทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ 
            รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นระยะที่อิทธิพลของยุโรป ทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้แผ่ขยายตัวไปทั่วโลก

            การปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเริ่มต้นจากประเทศอังกฤษก่อน และต่อมาได้แผ่ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตก 
            ก็นับว่าเป็นผลมาจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ที่นำไปสู่ความก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง 
            และส่งผลกระทบทำให้ทวีปยุโรปเป็นดินแดนที่นำหน้าทวีปอื่นๆ ทั้งทางด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีมาจนถึงปัจจุบัน

ดอริก
ไอโอนิก
โครินเธียน
ศิลปะโกธิค (Gothic)
หัวเสาเป็นอารยธรรมของกรีกโบราณ 3 แบบ

ศิลปะโกธิค
เริ่มต้นขึ้นปลายพุทธศตวรรษที่ 17 มีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปี
วิหารพาร์เธนอน(parthenon)
โคลอสเซียม(Colosseum)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น