Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา(Word Class Standard)


ครูเกษียณอายุราชการ2558
ข่าวสารทั่วไป
24โดย : admin
24/ส.ค./2558
2 stars ( 2 / 12 )
ประกาศผลการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 ( 2170 / )
ประกาศผลสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ SPK SCIENCE TEST ครั้งที่ 4 อ่านต่อ....
12โดย : admin
12/ส.ค./2558
4.5 stars ( 4.5 / 9 )
ค้นหารายชื่อนักเรียน ( 537 / )
ค้นหาชื่อนักเรียน อ่านต่อ....
ภาพกิจกรรมใหม่ล่าสุด
ข่าวการศึกษา
ข่าวครูบ้านนอก

กระดานถามตอบ


หัวข้อ (อ่าน/ตอบ)
โดย
วันที่
00004 : แนะแนวฟรี เทคนิคเรียนเก่งและสอบติวโควตา มข. (157/0)
BELL THEACT
1 ก.ย. 2558 : 00:18
00003 : จากผู้พัฒนาเว็บไซต์ รูปภาพ (241/0)
admin
23 ก.ค. 2558 : 16:11

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่18 การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์

การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์


        คือการวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง 

        ความสำคัญนั้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด

        1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
           1.1 หลักฐานชั้นต้น
           1.2 หลักฐานชั้นรอง

        2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
           2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
           2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

        3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
           3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
           3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
        1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources
       หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ                                                                                      
        1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources                       
        หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น

2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด

        2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources
   หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
        2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
   หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ

3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต

        3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface
หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
        3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น